วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553
จากประสบการณ์(ตอนที่ 1 เปิดร้านอาหารในต่างประเทศ)
วันนี้ขอเอา"ความหลัง"มาเล่า ..ผมอยู่ Australia ประมาณ 5 ปี เปิดร้านอาหารไทยไป 5 สาขา เริ่มตั้งแต่ตอนแรกซื้อร้านต่อจาก คนไทย ที่นั้น เป็นร้านอาหารและ Take Away ประมาณ 50 ที่นั่ง ชื่อว่า Sawtell Thai เป็นร้านในเมืองเล็กๆติดทะเล ชื่อ Sawtell นั่นแหละ
จากนั้น ก็คึก ขยายต่อ ไปเมืองใกล้ๆ Coffs Harbour คราวนี้เปิดร้านติดโรงหนัง เป็น Restaurant & Take away ขนาด 100 ที่นั่ง ชื่อ "Sawtell Thai" เหมือนกัน ..หลังจากเปิดได้ 2 ร้านก็คึกหนัก คราวนี้เปิดต่อ อีก 2 สาขา ที่เมือง Moonee Beach และก็ Umina Beach แต่สองร้านใหม่นี้ เปลี่ยน Concept จากร้านธรรดามาเป็น ร้าน Noodle Box คือ เป็น Take Away อย่างเดียว ใส่ใน Noodle Box สุด Hip
--จากนั้นก็คึกต่อ ขยายร้านที่ 5 ที่ Wyoming สรุปไม่ถึง 3 ปีผม "บ้าขยายไปถึง 5 สาขา ภายใต้ Brand "Sawtell Thai" เรียกได้ว่า เป็น Chain ร้านอาหารไทยที่ "เท่ห์มากๆ " เพราะทุกร้านแต่งด้วย Concept แบบ Comtempory Modern ใช้สีเดียวกันทุกสาขา คือ Oriental Red ตัดกับ เทา แบบร้าน Dernๆ
--ซึ่ง สรุป 3 ปี ใช้เงินเริ่มต้นจากบ้านผมช่วย แล้วก็ "กู้หนี้หัวบาน" ต่อ รวมหลายสิบล้านบาท -- ช่วงแรกก็ "แจ๋วมาก ..Boom สุดๆ" จากนั้นโชคผมดีจัด เกิด วิกฤตเศรษฐกิจ ..คน Australia ลดการกินนอกบ้าน -- ผมถึงกับ"กระอัก" รายได้ลดเยอะมาก ..เพราะทุกร้านต้องมี Manager ดูแล และก็จ้างChefs ทำให้ผมไม่สามารถลดต้นทุนลง
--- ในที่สุดผมก็เจอเต็มๆ สุดท้ายต้องตัดใจ ปิดกิจการบางส่วน แล้วก็ประนอมหนี้ ภาษี สรุปทุกอย่างอักผม จนน่วม ช่วงนั้น ผม"จิตตกมาก" เกือบ "ฆ่าตัวตาย" เพราะผมรู้สึกผิด ต่อที่บ้านมาก ที่ ตอนร้านแรก ที่คืนทุน แทนที่จะส่งกำไรคืน "คุณแม่" ผมกลับเอาเงินนั้น มาลงขยายต่อ แถมกู้หนี้เพิ่มอีกเยอะ
..วิกฤตคราวนี้มันสอนบทเรียนให้ผมในราคา ที่สูงมาก ผมรู้เลยว่าเวลา"ปัญหามันถาถมเข้ามา มันเข้ามาทุกอย่างจริงๆ" ซึ่งระหว่างนั้น ผมลงทุน กิจการ"โรงงานกระจกกับเพื่อนใน Sydney ด้วย" ซึ่งปัญหาทุกอย่างมันก็ถาถม พร้อมกัน -- มันทำให้ผมเข้าใจว่า ทำไมบางคนถึง "ไปโดดตึกตาย"
---หลังจากวิกฤต ผมปิดร้านอาหารไป 3 แห่ง เหลือ สองแห่ง ซึ่งแบ่งให้ Partner สองคนดูแลแทน ตอนนี้สรุปเหลือร้านเดียว แต่ยังดีที่ ร้านนี้กลับมามีกำไร (และกำไรดีด้วย) และท้ายสุด ร้านที่เหลืออยู่ ก็คือ ร้านแรกที่ผมเริ่มทำนั่นเอง --ทุกอย่างมันกลับมาสู่"จุดเริ่มต้น" วันนี้เราเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็น Thai Tales แล้วก็เปลี่ยนรูปแบบ และ Concept ร้านใหม่ แต่ยังคง เป็น Modern Style Cooking เช่นเดิม ปัจจุบันเราเปลี่ยนเป็น Licensed Restaurant ซึ่งสามารถจำหน่วย Alcohol ได้ .
.วันนี้ทุกอย่างมันได้ หล่อหลอมให้ผมกลับมามองที่ Bottom Line เป็นหลัก และเริ่มคิดตั้งแต่ Cost per Square Meter เลย คือ มองเลยตั้งแต่เนื่อที่ร้าน 70 ตร.ม. ผมสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่กับทุก บาททุกสตางค์ ที่ผมลงทุน เพราะใน Retail ทุก "ตารางเมตร" มันคือ ต้นทุนของผู้ประกอบการ
--ประสบการณ์การ Deal กับ Landlords เจ้าของที่.. ตั้งแต่ เจ้าของเล็กๆ ไป จนถึงบริษัทใหญ่ๆอย่าง Coles Myer ในห้างผมก็ Deal มาหมดแล้ว เรียกได้ว่า Deal กันตั้งแต่ ขอเปิดร้าน จนขอปิดร้าน ชดใช้ค่าเสียหายกัน จบขบวน life Cycle ของกิจการในเวลารวดเร็ว , การ Deal กับ Council ตั้งแต่การ ติดต่อ ขอก่อสร้างร้าน ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งต้องผ่าน Food Standard นับว่า หินมากๆ ต่างจากการเปิดร้านอาหารในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็น การเข้ามาคุมคุณภาพของ Food Safety ที่สอนการดำเนินร้านที่ถูกอนามัย
ซึ่ง ผมคิดไม่ออกเลยว่า ถ้าระเบียบแบบนี้มาใช้บ้านเรา ..ผมว่าร้านกว่า 90% ต้องปิดกิจการแน่ๆ และที่สุดปวดหัว ก็คือ "ไอ้ฝรั่งโง่อวดฉลาด" ที่ผมต้องจ้างมาทำงาน เป็นอะไรที่มันหัวหมอสุดๆ ทั้งเล่นแง่ ทั้งอู้ ลูกเล่นสารพัด จนมาถึง คนไทยซื่อๆ ในบ้านนอก ที่ผม Sponsor เพื่อ หมายมั่นปั้นว่าจะสร้างให้เขาเป็น Chefs ที่ดี สรุป ทำให้ผมปวดหัว กับ ความขี้บ่น ขี้เกียจ และ เล่นแง่ หัวหมอ ไม่แพ้ฝรั่งเลย
สรุป 5 ปี ที่อยู่ใน Australia มันเป็น"บทเรียนที่แพงสุดๆ" จากที่"แม่" ส่งผมไปเรียน ปริญญาโท เฉยๆ ผมกลับแบก ปัญหาผลาญเงิน เรียกได้ว่า "แกว่งเท้าหาเสี้ยนจริงๆ" หลังจาก 5 ปี ผมได้กลับมาเมืองไทย โดยให้ partner ดูแลร้านอาหารสุดท้ายที่เหลืออยู่ ส่วนโรงงานกระจก ก็ลุ่มๆดอนๆ แต่ยังคงดำเนินต่อไป แต่ก็ยังรอเงินทุนที่จะมา Commercialized ใน New Technology เกี่ยวกับการ Laminating Glass ซึ่งเป็นอะไรที่ยังอีกไกล กว่าจะทำเงิน
--หลังจากความ"หนัก" ที่ผมได้ประสพมามันได้สอนให้ผม"มองโลกในแง่ร้ายที่สุด" แต่หลังจากที่ผมกลับมาเมืองไทย ก็ได้เข้าทำงาน ธนาคารกรุงเทพ ในตำแน่งที่ หลายๆคนอิจฉา ในความสบาย --สบายจนมีเวลาเล่นหุ้น ..หลังจากผมกลับมาเมืองไทย 2 ปีก่อน ผมได้ทุ่มเวลาศึกษาหุ้น โดยหาข้อมูลอ้างอิงอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการลงทุนในหุ้น ธนาคารกรุงเทพนี่แหละ เล่นตั้งแต่ 60 บาท ยัน 100 บาท จนตอนนี้เปลี่ยนไปพลังงานแทน
--ผมพลาดโอกาสหลายๆตัวที่สำคัญ คือ ธนาคารทั้งหมด และก็ SCC ซึ่งผมถือว่า เป็นค่าโง่ ที่รับได้ เพราะปี 2008 ผมกำไรนิดหน่อย ในขณะที่ตลาด"พังทั้งตลาด --Sub Prime ที่เห็นๆคือ พวกมืออาชีพ เละกันระนาว" แต่พอมาปี 2009 ผมกลับกำไร แค่ 30% ในขณะที่ตลาดวิ่งกว่า 60%
--ซึ่งตรงนี้ก็สอนผมให้รู้ว่า "มุมมองของคนมัน Extreme เกินไป และนั้นคือ Problem ทีทำให้คนส่วนใหญ่ขาดทุน " และจากนั้นผมก็ยึดนโยบาย "ชาวสวน" ตลอดมา...
ช่องว่างกับการเรียนรู้(ตอนที่ 2)
การเรียนในระบบไม่ได้สอนให้เราสำเร็จ เพราะความรู้ที่เราได้เรียนมาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้ หลายคนดิ้นรนเรียนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงโท ถึง เอก แต่กลับพบว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ได้ช่วยให้เราประสบความสำเร็จเหนือคนอื่น และ อีกหลายๆคนก็ไม่เรียนเลย นอนอยู่กับบ้าน นั่งดูแต่ทีวี ก็พบว่าชีวิตก็ไม่ไปไหนเช่นกัน -- หลายคนพยายามเสนอทางสายกลางหรือความพอดี ก็ทำให้คนๆนั้น มุ่งสู่ความเฉี่อยชา ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้สำเร็จเหนือคนอื่นเช่นกัน
บทสรุปจึงมาลงตัวที่ความคิดต่าง ซึ่งความคิดต่างต้องมาจากการกระทำที่ต่างเช่นกัน เพราะหากเราไม่ได้ทำต่าง เราก็ย่อมไม่ได้คิดต่างเช่นกัน คนที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงหลายคน เกิดจากการมุ่งทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งและ สิ่งเดียวตลอดชีวิตของเขาก็ว่าได้ เช่น Tiger Woods สิ่งทั้งหมดที่เขารู้และทุ่มเทจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ กอล์ฟ หรือ นักประดิษฐ์ต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เก่งด้านเดียวแต่เก่งสุด
-- คำถามคือ แล้วถ้าเราเก่งด้านเดียวแต่ไม่สุดๆ เรามีโอกาสสำเร็จไหม อันนี้ก็พูดยาก เพราะคนที่ทำด้านเดียว มุ่งด้านเดียวมีมาก แต่คนที่สำเร็จจริงๆ น่ะมีน้อย ไม่งั้น คงมีหลาย J.K Rowling หลาย Tiger หลาย ไอสไตล์ --- ยิ่งคิดก็ยิ่ง งง ว่าแล้วทำอย่างไรจะประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องเสี่ยงมาก -- ก็ขอบอกเลยว่า ไม่มี เพราะ High Risk ถึงจะ High Return ไม่งั้นทุกคนคง รวยประสบความสำเร็จไปล้นโลกแล้ว
แล้วเราทำอย่างไรให้มีโอกาสสำเร็จได้เหนือกว่าคนอื่น --- ก็คือเราต้องแสวงหาช่องว่างของโอกาสที่เหมาะกับตัวเรา ซึ่งถ้าเราประเมินว่า โอกาสที่เข้ามามันคุ้มที่เราจะเสี่ยง ก็ลองดู --- แต่ต้องไม่ลืมว่า โอกาสที่จะเข้ามาในชีวิตคนแต่ละคนมีมากมาย แต่ทุกโอกาสไม่ได้นำไปสู่ความสำเร็จเสมอไป หลายๆโอกาสนำไปสู่ความล้มเหลวและบทเรียนที่แสนแพง
-- ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ได้รับบทเรียนอันแสนแพง จากการเข้าไปลงทุนร้านอาหารใน Australia ร้านแรก ที่เปิดเรียกได้ว่าขายดีมากๆ จนทำให้อยากเปิดร้านที่สอง และ ต่อมาถึงร้านที่สองจะขายดีน้อยลง ก็อยากเปิดร้านที่สาม ซึ่งแม้ยอดขายแต่ละร้านจะลดลง แต่ยอดขายรวมมันเพิ่ม จนในที่สุดเปิดร้านที่สี่ และ ห้า พอเปิดร้านที่ห้าเสร็จ ก็เจอวิกฤตเศรษฐกิจทันที ผลปรากฏว่า ยอดขายแต่ละร้านลดฮวบลงไป จนขาดทุน แทนที่จะขาดทุนน้อยๆ ผมกลับขาดทุน แบบคูณ ห้า
---ในที่สุด ลูกน้องก็ลาออกเพราะ กิจการย่ำแย่ จนผมต้องปิดลงทีละร้าน จนเหลือ สองร้าน ซึ่งทำให้ผมลดต้นทุน และกลับมาเป็นกำไรได้ แต่ปัญหาต่างๆก็ยังคงรุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากการขยายร้าน หรือ ภาษีที่ตามรังควาน เรียกได้ว่าผมใช้ 3 ปี สร้าง แต่ต้องใช้ถึง 5 ปี ตามล้างตามเช็ด กว่าจะหลุดออก จากความยากลำบาก มาเป็นกำไรต้องเสียค่าโง่ถึง 8 ปี เต็มๆ
--- จุดนี้ผม ถามว่า ถ้าคุณเป็นผมคุณจะทำไหม แน่นอนไม่ทำเพราะมันสุดจะโง่ แต่มันแฝงด้วยบทเรียนชีวิตที่เข้มข้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้น ปัญหากับลูกจ้าง ที่จ้างมากจากเมืองไทย มาหาว่าเรากดขี่ หรือ หนี้สินที่พลุงพะลัง จนแทบไม่รอด แต่สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นบทเรียน ซึ่งประกอบขึ้นมาเป็นประสบการณ์ หรือ ความเก๋าของแต่ละคน --- ปัจจุบันนี้ผมฉลาดขึ้น และมองโลกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนอื่นจะฉลาดขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าผมเลือกที่จะไม่ทำอะไรผมคงไม่ต้องลำบาก แต่โอกาสในอนาคต ก็คงจะจำกัดเช่นกัน
ผู้ยิ่งใหญ่เกือบทุกคน ผมเชื่อว่าได้ผ่านความล้มเหลวมาแล้วทั้งสิ้น แต่ตัวที่ทำให้เขาสามารถลุกขึ้นมาได้ หรือ ไม่มันขึ้นกับว่า เขาผู้นั้นพลิกวิกฤตให้กลายเป็นอะไร --บางคนพลิกวิกฤตให้เป็นหน้าผาแล้วก็กระโดดลงไปตาย อันนี้ผมไม่ Comment แต่บางคนพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และนี่เองคือ นิยามเน่าๆที่หลายคนพยายามสร้าง Gimmick เพื่อมาเขียนหนังสือหาเงิน --- ไม่มีหรอกครับไอ้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส มีแต่การแก้ไขที่เจ็บปวด กับความอดทนผ่านช่วงเวลาแล้วเริ่มใหม่ ต่างหากที่เป็นของจริง
หลายคนบอกว่าเป็นคนจริง แต่ลองเจ๊งสักนิด อาจเข็ดขยาดไม่กล้าทำอะไรอีกตลอดชีวิตก็เป็นได้ ---- สุดท้ายนี้ขอสรุปว่า การหาช่องว่างของการเรียนรู้มัน ก็คือ ความกล้าที่จะทำสิ่งที่เราเชื่อว่ามันดี ทำไปแต่อย่าให้ใครเดือดร้อน หรือ อาจพูดได้ว่า ทุกคนที่อายุยังน้อยต้องวิ่งไปหาความล้มเหลวก่อนเพราะ ความล้มเหลวเป็น บันไดที่เราจะต้องผ่านก่อนไปสู่ความสำเร็จ เพราะถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะลุกขึ้นมาหลังจากที่เราล้ม ผมว่าคุณก็ไม่มีทางจะสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
--- ไม่มีใครหรอกครับที่ ชนะ หรือ สำเร็จตลอดเวลา หากแต่ถ้าโดยรวมแล้วเราสำเร็จมากกว่าล้มเหลวก็ถือว่าเราสำเร็จแล้ว -- คนที่ไม่เคยล้มเหลวก็ไม่ต่างจากคนที่ไม่เคยทำอะไรนั้นเอง (อย่าภูมิใจ) "คนจริงล้มได้ ก็ลุกได้ จริงไหมครับ"
ช่องว่างของเวลากับการเรียนรู้ (ตอนที่ 1)
คนทุกคนมีเวลาเท่ากันที่ 24 ชั่วโมง แต่ปริมาณการเรียนรู่ของแต่ละคนต่างกันมาก ซึ่งวัยที่รับการเรียนรู้ได้อย่างสูงที่สุดก็คือวัยเด็กหรือวัยเรียน แต่ปัญหาของการเรียนรู้ในวัยเด็กก็คือ การท่องจำ เพราะเรื่องราวต่างๆที่เรียนมักเป็นเรื่องที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยเจอมาก่อน
ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่องราวที่เรียนจะน้อยมาก ซึ่งการท่องจำนี่เองที่กลายเป็นนิสัยปลูกฝังให้เด็กคิดไม่เป็น ดังนั้นเมื่อเด็กคนนั้นโตเป็นผู้ใหญ่ ระบบการเรียนแบบท่องจำก็จะ Block ให้เขาไม่สามารถที่จะหาความรู้ด้วยตัวเอง จุดนี้เองคือ จุดอ่อนของระบบการศึกษาแบบ Asia ซึ่งสร้าง "นักจำ" มากกว่า "นักคิด"
คำถาม ที่เกิดขึ้นคือ แล้วเราจะสร้างนักคิดอย่างไร --- หลายคนบอกว่า งั้นทำไมไม่ให้ทุกคนศึกษาด้วยตัวเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คนๆนั้น ในที่สุดจะไม่ศึกษาอะไรเลย เพราะนิสัยดั้งเดิมของมนุษย์คือ รักความสบาย ดังนั้น การศึกษาด้วยตัวเองจะไม่เกิดขึ้นหากเขาไม่มีระเบียบวินัยและเป้าหมายที่ ชัดเจน
ตัวอย่างที่ดีของการ รักการศึกษาด้วยตัวเอง คือ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในต่างประเทศ -- คนเหล่านี้จะเป็นนักอ่าน นักฟังและ นักดู ตัวยง เพราะเขารู้ดีว่า ถ้าเขาหยุดศึกษาเมื่อไหร่เขาก็จะไม่ทันคู่แข่งทันที ประเด็นสำคัญที่ทำให้เขามุ่งศึกษาอย่างต่อเนื่อง คือ การแข่งขัน และส่วนที่สร้างแรงจูงใจ ก็คือ เป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยความอดทน
--- สรุปง่ายๆว่า สิ่งที่ดีที่สุดที่โรงเรียนสอนเราคือ ความอดทนมีระเบียบวินัย และ ก็การแข่งขัน นอกจากนั้น ผมว่า Bull Shit เพราะเนื้อหาที่สอนส่วนใหญ่คือ สิ่งที่ทุกคนควรรู้ ดังนั้น แสดงว่า ความรู้ที่สอนอยู่ในโรงเรียน หรือ มหาลัย เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้ --- ผมถามหน่อยว่า การที่คุณจะประสบความสำเร็จ เหนือ คนอื่น ไม่ว่า จะเป็นธุรกิจ หรือ แม้แต่การลงทุน การเล่นหุ้น ข้อได้เปรียบก็คือ คุณรู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้
คำถามอีกข้อคือ ความรู้ที่ทุกคนเรียนจนถึงปริญญาโท มีอะไรที่คนอื่นไม่รู้บ้าง -- ตอบเลยว่าไม่มี ดังนั้น การเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงปริญญาโท ผมสรุปได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำให้คุณประสบความสำเร็จเหนือคนอื่น -- มาถึงจุดนี้หลายคนคงนึกอยู่ในใจแล้วว่า คำตอบของความสำเร็จคือ ปริญญาเอก -- ก็ไม่ใช่ เพราะปริญญาเอกสร้างนิสัยของความหยิ่งจองหอง ไม่ฟังใคร เพราะคนที่จบเอกได้ มักถือว่าตัวเอง เก่งที่สุด ดังนั้น คนเหล่านี้จะไม่ฟังใคร ทำให้ เขาเหล่านั้น พัฒนาลง หรือ โง่ลงเรื่อยๆหลังจบปริญญาเอก เพราะหลังจากนั้น เขาไม่ได้เรียนรู้อะไรต่อเลย ส่งผลให้เขาเป็น Doctor อีกคนที่ ไม่รวย ไม่มีกิจการใหญ่โต และ ท้ายที่สุดก็มาเป็นลูกจ้างของคนที่เรียนต่ำกว่า
คำ ที่ว่า "เรียนต่ำกว่า" หมายถึงเรียนในระบบปริญญา แต่การเรียนรู้ในชีวิตจริงต่างหากที่ จะทำให้คนประสบความสำเร็จ --- หนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง เช้าตื่นมาทำงานซ้ำ ใช้แรงกาย เช่น พิมพ์ดีด ลงบัญชี ตรวจคนไข้ ต่างๆเหล่านี้สร้างได้เพียงความชำนาญ แต่มิได้สร้างให้คนนั้นฉลาดขึ้นแต่อย่างใด
ผมเป็นคนหนึ่งที่นับว่า โชคดี เพราะผมผ่านทั้งงานที่ใช้แรงงาน การสร้างธุรกิจตัวเอง รวมทั้งผ่านการเป็นลูกจ้าง ซึ่งทุกอย่างล้วนมีแง่คิด และ เสริมสร้างการเรียนรู้ที่ต่างกัน --- ซึ่งประเด็นเริ่มต้นคือ ผมเป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบอ่าน และ ชอบดู ฟัง อะไรก็ได้ ที่ผมคิดว่ามันให้ประโยชน์ ดังนั้น ในเวลาว่างผมมักมีหนังสือ ติดมือเสมอ
ซึ่งหลายคนอาจมองว่า "ไอ้หนอนหนังสือ" แต่แปลกอยู่อย่างนึงคือ ผมชอบอ่านหนังสือทุกแบบ ยกเว้นหนังสือเรียน ผมเรียนปริญญาตรี ซึ่งผมเลือกเรียนเอก การตลาด เพราะผมไม่ชอบอ่านหนังสือ ซึ่งการตลาดทำให้ผมสามารถเอาความรู้นอกตำรามาตอบได้ จึงเป็นอะไรที่ลงตัว ก็ได้สูตรเคล็ดลับ คือ ไม่ค่อยเรียนแต่ทำไมได้คะแนนดี จบได้เกียรตินิยม
--- ผมว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามหากเราหาจุดแข็งของเรา ได้เหมาะกับช่องว่างของโอกาส เราก็สามารถพาตัวเราไปสู่เป้าหมายโดยไม่ต้องออกแรงมาก --- ซึ่งจุดนี้ผมได้แนวคิด หลังจากที่ผมสอบติดมหาลัย แบบไม่อ่านหนังสือ ทุกวิชาผม ได้คะแนนห่วยหมด แต่ภาษาอังกฤษผมได้เกือบร้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ได้ประมาณ 20 ซึ่งจุดนี้เองทำให้ผมสอบติด มหาลัยธรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ โดยที่ผมแทบจะไม่ต้องออกแรง เพียงแต่ผม รู้ว่าผมเก่งตรงไหน แล้วใช้จุดแข็งของผมให้เกิดประโยชน์
---- ปัจจุบันผมเห็นคนส่วนใหญ่มักมุ่งทำอะไรที่คล้ายกัน เช่น เรียนเหมือนคนอื่น เรียนพิเศษที่คนนิยม แต่ในสมัยผม ผมไม่ค่อยเรียน แต่ผมชอบทำกิจกรรม เหตุผลที่ผมภาษาอังกฤษ ดีกว่าคนอื่น เพราะผมสอบติด AFS ตอน ม.5 ซึ่งก่อนหน้าที่ผมสอบ AFS ผมเป็นคนที่โง่ภาษาอังกฤษ กับ เลขมาก แต่พอผมได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ภาษาผมก็ดีขึ้น แม้ เลขผมยังห่วยเหมือนเดิม แต่ก็สามารถทำให้ผมติดมหาลัย ที่ผมเลือกไว้อันดับ 1 ได้
--- หลายคนคงสงสัย ว่าผมโง่ภาษาอังกฤษ แต่ทำไมผมสอบติด AFS ซึ่งสอบติดยาก ผมขอตอบเลยว่า ฟลุ๊ค -- ตลกไหมครับ ฟลุ๊ค ซึ่ง ฟล๊ค นี่เกิดได้กับทุกคน และ ผลของมันอาจเปลี่ยนชีวิตของคนๆนึงไปเลยอย่าง เช่นผม --- ถามว่าสิ่งใดที่ทำให้เรา ฟลุ๊ค ผมคิดว่ามันเป็นความกล้า ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองว่า ตัวเองไม่เก่งพอก็ไม่กล้าที่จะไปสอบแข่งกับคนอื่น แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น ผมคิดว่า ถ้าคุณ กล้าลอง ความสำเร็จ อาจกล้าที่จะให้คุณเช่นกัน (อ่านต่อฉบับหน้า ฮ่า ฮ่า)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)