แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้านภาค 1 และ 2

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้านภาค 1 และ 2
ถล่มแผง SE-ED ทั้งประเทศ (ถ้าอ่านแล้วชอบ ฝากบอกต่อด้วยนะครับ..หุ หุ)”

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตราสารอนุพันธ์ (derivative)


เป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ futures, forward, swap, options เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือทรัพย์สินใดๆ เป็นต้น
สินทรัพย์อ้างอิงของตราสารอนุพันธ์

สินทรัพย์ที่ตราสารอนุพันธ์สามารถอ้างอิงได้นั้นเป็นสินทรัพย์ได้เกือบทุกประเภท โดยอาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

* สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ได้แก่
o เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน เอทานอล
o สินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง นม กุ้ง เนือหมู เป็นต้น
* สินทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นกู้ เงินตราต่างประเทศ (forex) เป็นต้น
* ตัวแปรทางการเงิน ได้แก่ ดัชนีของหลักทรัพย์ต่างๆ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อันดับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
* ตราสารอนุพันธ์ เช่น option on futures, swaption เป็นต้น
* อื่นๆ ได้แก่ ความเสียหาย สภาพอากาศ อุณหภูมิ เป็นต้น

ประเภทของตราสารอนุพันธ์

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures & Forward Contract) เป็นสัญญาซึ่งทำการตกลงกันระหว่างบุคคล หรือสถาบัน 2 ฝ่าย โดยมีฝ่ายของผู้ซื้อ และฝ่ายของผู้ขาย ทำการตกลงกันในสัญญาว่า จะมีการซื้อขายสินทรัพย์ (ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ทางการเงิน) ในอนาคต โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำตามสัญญาที่กำหนดไว้ ดังนั้นภาระของทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ขายจะต้องนำสินทรัพย์มาทำการส่งมอบในอนาคต และฝ่ายผู้ซื้อจะทำการชำระราคาในอนาคต เช่น คู่สัญญาทำการตกลงจะซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า เมื่อระยะเวลาถึงกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทำ ตามสัญญา (มักจะเรียกว่าวันที่สัญญาครบกำหนดอายุ หรือ Maturity Date) คือ ผู้ซื้อจะต้องนำเงินบาทมาชำระค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และฝ่ายผู้ขายก็จะต้องนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาส่งมอบเช่นเดียวกัน

ออปชัน (Option) เป็นสัญญาที่มีลักษณะคล้ายกันกับ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทแรก แต่แตกต่างกันที่สัญญาประเภท ออปชัน เป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่ทำการซื้อสัญญาออปชัน ว่าจะมีสิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ใด ๆ ตามสัญญา ดังนั้นสิทธิของการทำตามสัญญานั้นจะเป็นของฝ่ายผู้ซื้อสัญญาซื้อหรือขายล่วง หน้า สิทธินั้นขึ้นอยู่กับว่าสัญญาเป็นการซื้อหรือขาย สำหรับฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกใด ๆ เพราะฝ่ายขายเป็นผู้ที่เขียนสัญญาขึ้นมาขาย และเป็นผู้ที่ได้รับค่าสัญญาไปตั้งแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิในการเลือกใด ๆ

สัญญาสวอป (Swap) เป็นสัญญาที่มีการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่ สัญญา หรือเป็นสัญญาที่มีการแลกเปลี่ยนภาระการลงทุน หรือภาระดอกเบี้ยของคู่สัญญา

นอกจากนี้ยังมีตราสารอนุพันธ์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ swaption หุ้นกู้อนุพันธ์ (Structure note) เป็นต้น

(อ้างอิงจาก WIKIPEDIA )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น